fbpixel

เต้านมคัดหรือการคัดตึงเต้านม เป็นอีกหนึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ นมแม่ทุกคนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่  ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายของ คุณแม่สร้างน้ำนมมากขึ้นจนทำให้เต้านมแม่ขยายใหญ่ขึ้น บวมขึ้น เต้านมแข็งขึ้น จนเกิดอาการปวดบวม ทำให้คุณแม่เจ็บปวดทรมานเวลาให้นมลูก และเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้คุณแม่หลายบ้านถอดใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Mamaexpert ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จึงนำเคล็ดลับสยบปัญหาเต้านมคัด ที่ได้ผลจริง!!! ช่วยให้นมแม่พุ่งปี๊ดๆ มาฝากคุณแม่นมแม่ทุกบ้านตามนี้ค่ะ

3 สาเหตุสำคัญทำให้เต้านมคัด

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่เต้านมคัดและพบบ่อย มีดังนี้

  1. ร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมได้ในปริมาณมากกว่าที่ลูกกิน จึงทำให้น้ำนม คั่งค้างจนเกิดอาการเต้านมคัด
  2. คุณแม่ทิ้งช่วงเวลาของการให้นมลูกนานเกินไป หรืออาจไม่บีบน้ำนมออกในช่วงที่ลูกไม่ได้ดูด ทำให้เกิดอาการบวมตึง และคัดที่เต้านม
  3. ให้นมลูกไม่ถูกวิธีหรือให้นมลูกในท่าที่ผิด ก็มีส่วนทำให้น้ำนมนั้นไหลออกมา ได้ไม่เต็มที่หรืออาจทำให้น้ำนมไหลไม่ทัน ทำให้เกิดอาการเต้านมคัด

    อาการของเต้านมคัดที่คุณแม่นมแม่ต้องรู้จริง

    อาการเต้านมคัด จะพบในช่วงระยะสัปดาห์แรกหลังจากคลอด อาจมีอาการเต้านมร้อน เต้านมแข็ง บวม-ตึง บางครั้งอาจมีอาการเหมือน เป็นไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาการคัดเต้านมอาจทำให้น้ำนมแม่ไม่ไหลออกมาเวลา ปั๊มหรือบีบ ซึ่งจะส่งผลต่อการให้นมลูกโดยตรง คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการ เต้านมคัดนานเกิน 2-3 วัน เพราะอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน หรือ เต้านมอักเสบได้

    ปังมาก!!! ตัวช่วยคุณแม่นมแม่ สบายเต้าหายปวด

    เต้านมคัด ปวดมากทำอย่างไรดี Mamaexpert มีตัวช่วยมาแนะนำ คุณแม่มือใหม่ให้หายนมคัด โดยใช้ที่ประคบหน้าอกก่อนให้นมลูก ซึ่งแผ่นประคบหน้าอกที่เลือกใช้ก็คือ ละมุนที่ประคบหน้าอกออร์แกนิคมีส่วนประกอบจากธรรมชาติ ตัวนี้ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนรูปแบบที่เค้าทำมาเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะละมุนที่เดียวด้วย ไม่มีสารเคมีอันตราย ไม่ทำให้เกิดผื่นแพ้ ที่ประคบทำจากผ้าคอตตอลออร์แกนิค ข้างในบรรจุเมล็ดข้าวที่มีส่วนช่วยให้แผ่นประคบหน้าอกคงความร้อนได้นาน   20-30นาที สามารถใช้งานได้ประมาณ 500 ครั้ง !! ที่สำคัญพกพาง่ายและสะดวกต่อการใช้งานอีกด้วยค่ะ

สำหรับการใช้งานง่ายมากๆ แค่นำละมุนที่ประคบหน้าอกออร์แกนิค ไปอุ่นในไมโครเวฟ ความร้อนประมาณ 600 วัตต์ เวลาประมาณ 1 นาที แล้วนำมาประคบที่หน้าอกก่อนให้นมลูกประมาณ 20 นาที โดยเว้นบริเวณลานนมเพื่อป้องกันหัวนมแตก คุณควรใช้มือนวดบริเวณที่ ปวดคัดเต้านมไปพร้อมกับการประคบด้วยเพื่อให้หายจากอาการเต้านมคัดเร็วขึ้น น้ำนมก็ไหลดีขึ้นด้วยค่ะ คุณแม่สามารถประคบได้ทุกครั้งที่มีอาการเต้านมคัดและการเก็บรักษาควรเก็บไว้ ในถุง Zip lock เพื่อจะช่วยป้องกันความสกปรกและมอดได้ด้วยค่ะ

วิธีจัดเก็บสต๊อกนมที่ถูกต้องปลอดภัย

เมื่อคุณแม่ใช้แผ่นประคบหน้าอกและนวดเต้าเพื่อบรรเทาอาการเต้านมคัดแล้ว เต้านมของคุณแม่จะนิ่มลง หลังจากนั้นคุณแม่ต้องทำการระบายน้ำนม ออกจากเต้าให้หมด โดยการให้ลูกดูด! บีบเก็บ! หรือปั๊มเก็บ!

การทำสต๊อกนมควรเก็บน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี  เก็บใส่ถุงน้ำนมที่สะอาด ซึ่งการเลือกใช้ถุงเก็บน้ำนมก็มีส่วนสำคัญเพราะถ้าหากถุงเก็บน้ำนมไม่มีคุณภาพ อาจทำให้น้ำนมแม่เสียได้ น้ำนมแม่เป็นสิ่งมีค่า คุณแม่จึงไม่ควรพลาด ทุกขั้นตอนของการเก็บน้ำนม เริ่มตั้งแต่การเลือกใช้ถุงเก็บน้ำนมต้องพิถีพิถัน

Mamaexpert แนะนำคุณแม่นมแม่เลือกใช้ละมุนถุงเก็บน้ำนมแม่ เพราะผ่าน กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสี แกรมม่า เพื่อฆ่าเชื้อโรคให้ภายในถุงเก็บน้ำนมอยู่ในปลอดเชื้อ ซึ่งเป็นถุงทึบ แสง หนา 2 ชั้น ที่คงคุณค่า สารอาหารในน้ำนมแม่ ป้องกันอากาศและความชื้น ลดกลิ่นเหม็นหืนได้ด้วย ที่สำคัญช่องเข้าออกของน้ำนม จะเป็นคนละช่องกันป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรคด้วย บรรจุน้ำนมได้  สูงสุด 8 ออนซ์ สะดวกต่อการใช้งานและยังประหยัดการใช้ถุงเก็บน้ำนมมากยิ่งขึ้น และยังมีแถบเขียนข้อมูลที่เขียนง่าย สามารถใช้ปากกาลูกลื่นธรรมดาเขียนได้ เลยค่ะ ถุงเก็บน้ำนมตัวนี้มีฐานกว้างสามารถวางตั้งได้ด้วยไม่ต้องระวังกลัวล้ม สะดวกจริงๆค่ะ 1 กล่อง บรรจุมาให้มากถึง 32 ชิ้น เรียกได้ว่าคุ้มค่ามากๆค่ะ

การเก็บสต็อกน้ำนม คุณแม่ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับหนึ่งมื้อที่ลูกกิน ควรปิดปากถุงให้มิดชิดเขียนวันที่–เวลา–ปริมาณน้ำนม ให้ละเอียด ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนที่เย็นที่สุดทันที ไม่ควรวางไว้ที่ประตูตู้เย็น การใช้น้ำนมควรใช้น้ำนมที่เก่าที่สุดก่อน โดยนำมาแช่ในน้ำอุ่น  เพื่อให้คลายความเย็นก่อนให้ทารกกินค่ะ ส่วนอายุของนมแม่แช่แข็ง จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิดังนี้

ปัญหาเต้านมคัดจะไม่เกิดขึ้น หากคุณแม่ให้ลูกดูดนมอยู่เสมอ และหมั่นปั๊มนม ไม่ให้น้ำนมค้างเต้านานเกินไป ถ้าคุณแม่มีอาการเต้านมคัดมากประคบร้อนหรือ นวดบรรเทาแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดมากไม่สามารถระบายน้ำนมออกมา ได้  แนะนำให้ปรึกษาคลินิกนมแม่ใกล้บ้าน หรือพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะน้ำนมแม่มีค่ายิ่งจึงต้องดูแลตัวเองเพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในทุก ๆ วัน Mamaexpert  สนับสนุนให้ทุกบ้านเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด เท่าที่จะทำได้ค่ะ

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert Editorial Team